ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

PM 2.5 ภัยเงียบที่ต้องระวัง

PM 2.5 ฝุ่นพิษ ที่คนไทยต้องระวังตลอดเวลา เพราะมลพิษและมลภาวะต่างๆ ในบ้านเราทำให้ฝุ่นพิษเหล่านี้ไม่หายไป และยังพร้อมกลับมาได้เสมอ

อันตรายแค่ไหน เมื่อคนกรุงมีอากาศดีแค่ 49 วัน

อากาศดี กลายเป็นสิ่งมีค่าที่หายาก เมื่อข้อมูลในปี 2022 พบว่า ฝุ่นล้อมกรุงจนทำให้เราได้สูดอากาศดีเพียงแค่ 49 วันเท่านั้น เทียบกับการสูบบุหรี่ถึง 1,224.77 มวน ซึ่งอาจมีผลให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และในอีกหลายโรคเรื้อรัง ที่อาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ โดยที่เรายังต้องลุ้นค่าฝุ่นกันวันต่อวัน

ที่มา : The World Air Quality Index Project

แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5

  1. ฝุ่นจากท่อไอเสียรถยนต์ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการจราจรติดขัด หนาแน่น​
  2. ฝุ่นจากงานก่อสร้างทั้งหลาย เช่น รถไฟฟ้า อุโมงค์ คอนโดมิเนียม ฯลฯ
  3. ฝุ่นจากการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เช่น เผาหญ้า ไฟป่า
  4. ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม

โดยปกติแล้ว ฝุ่นเหล่านี้จะลอยขึ้นไปรวมตัวกันในอากาศเป็นจำนวนมากในช่วงกลางคืน ก่อนที่จะถูกลมพัดจางหายไปในตอนเช้า แต่หากสภาพอากาศที่มีหมอกในตอนเช้า อากาศนิ่ง และมีสภาพอากาศปิด จะทำให้ฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ถูกสะสมวนเวียนอยู่รอบๆตัวเรา เมื่อเราสูดหายใจเข้าไปจึงเกิดอันตรายได้

ภัยร้ายจากฝุ่นที่ต้องระวัง

ฝุ่นร้ายนี้ ประกอบไปด้วยสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมี่ยม และสารหนู เป็นต้น และด้วยขนาดที่เล็กมาก แค่ 2.5 ไมครอน (เล็กกว่าขนาดหน้าตัดของเส้นผมเรา 25 เท่า) จึงทำให้ฝุ่นร้ายนี้นอกจากจะเล็ดลอดการกรองภายในจมูกเราเข้าสู่ปอดอย่างง่ายดายแล้ว ยังเล็ดลอดการกรองจากปอดเราเข้าสู่เส้นเลือดได้โดยตรง แทรกซึมกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ เมื่อรับฝุ่นควันเป็นเวลานาน จึงมีผลให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมีผลให้เกิดโรคเรื้อรัง ทั้ง

  • โรคหัวใจ เสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย และหัวใจล้มเหลว
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจส่วนล่าง
  • โรคกระดูกพรุน

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังกำหนดให้ PM2.5 อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 เป็นสาเหตุ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และในปี 2562 ยังพบว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่าการสูบบุหรี่ โดยส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิตเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD)

วิธีป้องกัน และดูแลร่างกายให้ปลอดภัยจากฝุ่น

1. เลี่ยง – ลด การทำกิจกรรมกลางแจ้ง

2. ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งต้องเป็นหน้ากากที่ระบุว่า ป้องกันอนุภาคขนาดน้อยกว่า 2 ไมครอน เท่านั้น

3. รับประทานสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการต้านอันตรายที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5

  • วิตามิน A และเบต้า-แคโรทีน พบมากในแครอท ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง มันเทศ มันหวาน มะม่วง มะละกอ ฯลฯ มีส่วนช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย พร้อมต้านฤทธิ์พิษฝุ่นจิ๋ว
  • วิตามิน C พบมากในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะขามป้อม กีวี สตรอว์เบอร์รี ส้ม มะเขือเทศ ผักสีเขียวเข้ม หัวหอม ฯลฯ ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เข้าสู่ร่างกาย และมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันทั้งระบบ ลดอาการภูมิแพ้ อาการคันต่างๆ จากพิษฝุ่นจิ๋ว
  • วิตามิน E พบมากในอาหารไขมันสูง อย่างถั่วและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง อัลมอนด์ เฮเซลนัต อะโวคาโด ไข่แดง ฯลฯ ช่วยลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์และปกป้องปอดจากฝุ่นละอองและมลพิษ
  • วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิกหรือสารโฟเลต พบมากในผักสีเขียวเข้ม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ธัญพืช เนื้อสัตว์จำพวกอกไก่ เนื้อวัวไม่ติดมัน เนื้อหมู และอาหารทะเล มีส่วนช่วยลดสารโฮโมซิสเทอีนในเลือด ป้องกันภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมทุกๆ วัน มีผลให้มีสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูง
  • วิตามิน D พบมากในปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคคอแรล ฯลฯ รวมถึงไข่แดง ตับ นม และเห็ด มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยการสร้างเม็ดเลือดขาวและการจับกินเชื้อโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด ลดความรุนแรงของการเกิดโรคหอบหืด ที่เกิดจากพิษฝุ่นจิ๋ว
  • โอเมก้า-3 พบมากในปลาทะเล อาหารทะเล และปลาน้ำจืดบางชนิด และยังพบได้ในผลิตภัณฑ์จากนม ผักโขม ถั่วเหลือง ถั่วอัลมอลต์ ถั่วแระ ฯลฯ ช่วยลดการอักเสบและการระคายเคืองที่ผิวหนัง ช่วยป้องกันการติดเชื้อ และมีส่วนช่วยเสริมสร้างผนังเซลล์ในร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากพิษฝุ่นจิ๋วได้
  • N-acetyl cysteine เป็นสารอาหารที่ต้องการกรดอะมิโนซิสเตอินช่วยในการสังเคราะห์ อาหารที่มีกรดอะมิโนซิสเตอินจะพบมากในเนื้อแดงอย่าง พอร์คชอป สเต็กเนื้อ และพบในธัญพืช โยเกิร์ตไขมันต่ำ ไข่ แตงโม หอมใหญ่ กระเทียม จมูกข้าวสาลี ฯลฯ ช่วยลดการเกาะติดของเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ช่วยกำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระในร่างกาย

4. คีเลชั่นบําบัด เป็นกระบวนการช่วยนําสารพิษจำพวกโลหะหนักออกจากร่างกาย เพื่อล้างหลอดเลือดให้สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

  • คีเลชั่นบำบัด เป็นการรักษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสํานักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขไทย ซึ่งมีงานวิจัยรองรับโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา รับรองให้เป็นการรักษามาตรฐานสําหรับกําจัดสารโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ออกจากร่างกาย
  • นอกจากนี้การแพทย์ทางเลือก ยังใช้คีเลชั่นบําบัดในการเสริมการรักษาแบบองค์รวม สําหรับผู้ป่ วยโรคหัวใจ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันเกาะตับ ควบคู่กับการรักษาหลักอื่นๆเช่น การปรับไลฟ์สไตล์, การออกกําลังกาย, การผ่าตัด และ การรับประทานยา

**เพื่อความปลอดภัย** การทำคีเลชั่นบำบัด ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทำในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเท่านั้น​

เอกสารอ้างอิง​

  • Péter S, Holguin F, Wood LG, Clougherty JE , Raederstorff D, Antal M, Weber P, Eggersdorfer M. Nutritional Solutions to Reduce Risks of Negative Health Impacts of Air Pollution. Nutrients. 2015; 7(12): 10398–10416.
  • กรมควบคุมมลพิษ http://aqmthai.com
  • https://www.who.int/health-topics/air-pollution#tab=tab_1

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงนี้เข้ามาดูแลตัวเองที่ W9 Wellness ในโปรแกรม “การดูแลสุขภาพผู้หญิงวัย

มีคนไข้หลายคนเข้ามาปรึกษาหมอว่า ทำไมบางครั้ง กินโพรไบโอติกส์ แล้วไม่เห็นผล เพราะเห็นโฆษณาว่าช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยเรื่องลดน้ำหนัก และยังช่วยเรื่องภูมิแพ้ แต่กินไปแล้วกลับกลายเป็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย หมอต้องบอกก่อนว่า เราต้องอย่าลืมว่าโพรไบโอติกส์มันมีชีวิต และโพรไบโอติกส์ไม่ใช่ยา ดังนั้นเราจึงไม่สามารถควบคุมอาการมันได้ทุกอย่างได้ มันจึงมีปัจจัยหลายๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นก็คือ ชนิด และจำนวนของโพรไบโอติกส์ที่ต้องรีบประทาน วันนี้หมอมีคำแนะนำว่าจริงๆ แล้ว เราควร กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน กันแน่ถึงจะเห็นผล เราควรเลือก กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน ถึงจะเห็นผล? ก็ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของโพรไบโอติกส์ในปัจจุบันมีค่อนข้างมากเลย แล้วส่วนใหญ่ก็จะพบว่า มีประโยชน์กับร่างกายของเราจริงๆ เพียงแต่ว่าเราต้องไม่ลืมว่า พอพูดถึงจุลินทรีย์มันมีหลากหลาย หลายพัน หลายหมื่น หลายแสนล้านชนิดอยู่ในร่างกาย มีชนิดย่อยๆ เต็มไปหมดเลย ทุกวันนี้เรายังศึกษาได้แค่บางส่วน มันก็จะมีเชื้อจำนวนนึงที่อยู่ในลิสต์ว่ามันเป็นเชื้อที่ดี ในเชื้อแต่ละตัวเองก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป มีคุณสมบัติที่คาบเกี่ยวกันไป เพราะฉะนั้นการจะเลือกโพรไบโอติกส์กับปัญหานึงเนี่ย จริงๆ หมอมองว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย บางทีมันไม่อาจจะสามารถใช้เชื้อรวมๆ เหมือนว่าเอา 10 ตัวนี้มาแล้วมาใช้กับทุกสภาวะได้ เพราะว่าในแต่ละคนเองก็มีความหลากหลายของชนิดเชื้อที่แตกต่างกันอีกเหมือนกัน การกินโพรไบโอติกส์ที่มากเกินไป หรือว่าชนิดที่อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับเรา บางทีอาจจะนำมาสู่การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร หรือว่าทำให้โพรไบโอติกส์ในท้องของเรา จากที่มันดีอยู่แล้วกลับแย่ลงด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแล้ว การกินโพรไบโอติกส์ให้เหมาะสมกับบุคคล […]

ยิ่งแก่ยิ่งท้องผูก ปัญหาท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยและเยอะในผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยพบ คนแก่ท้องผูก ถึง 20-25% เลยทีเดียว ซึ่งหากสังเกตุดูคนที่อายุเยอะๆ เราจะพบว่าพวกเขาเหล่านี้มีปัญหาเรื่องลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการย่อยอาหาร ท้องอืด ท้องผูก แล้วสาเหตุท้องผูกในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง และเราจะช่วยแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุยังไงกันดี แหล่งที่มาคนไทยท้องผูก กรมการแพทย์ ทำไมผู้สูงอายุถึงท้องผูก สาเหตุที่ คนแก่ท้องผูก ไม่ใช่ว่ากินไฟเบอร์ไม่พอเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่ระบบร่างกายมันเปลี่ยน การเผาผลาญเริ่มไม่ดี สมดุลฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น การทำงานของไทรอยด์ลดลง รวมถึงสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ลดลง เพราะตั้งแต่อายุ 40+ ขึ้นไป โพรไบโอติกส์ ในลำไส้เริ่มลดลง ทำให้จุลินทรีย์ดังกล่าวทำงานได้ไม่ดี จึงเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายขึ้นในผู้สูงอายุ เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วก็ต้องมองย้อนกลับไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เราอาจจะเริ่มปรับอาหารการกิน ปรับการออกกำลังกาย การดื่มน้ำเปล่า และปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เพราะถึงแม้เราจะคิดว่าเราทานอาหารที่เป็นออแกนิคทั้งหมด แต่อย่าลืมว่า ร่างกายของเราอาจจะไม่ได้เหมาะกับอาหารชนิดนั้นก็ได้ ยิ่งเราแก่ขึ้นร่างกายและระบบการย่อยอาหารก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว การจะกินแบบเดิมก็อาจจะไม่ได้ผล เพราะสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายได้เปลี่ยนไปแล้ว และถ้าจะให้ดีก็แนะนำว่าควรที่จะตรวจสมดุลจุลินทรีย์ จะได้รู้ว่าร่างกายขาดจุลินทรีย์ตัวไหน เราก็จะได้เสริมให้ตรงกับร่างกายและอาการที่เราเป็น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สาเหตุที่ผู้สูงอายุท้องผูกมีอะไรบ้าง การดูแลสุขภาพลำไส้ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน การออกำลังกาย และการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในไล้ให้มีความสมดุล และถ้าเราสามารถรู้ได้ว่าร่างกายของเราขาดจุลินทรีย์ชนิดไหน […]