ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

A Hidden Factor for Weight Loss: ความลับที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่ลง

ความอ้วนกับสารพิษสัมพันธ์กันอย่างไร ?

“ความอ้วน” เป็นปัญหาที่หลายๆ คนกำลังเผชิญอยู่ และมีแนวโน้มว่า
“โรคอ้วน” พบเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ในทุกเพศทุกวัย

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับ “โรคอ้วน” โดยตรงคือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย แต่เคสที่หมอเจออยู่บ่อยๆ คือ ถึงแม้ว่าจะควบคุมอาหารได้ดี และออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด แต่ในบางคนน้ำหนักกลับไม่ลดลงไปตามเป้าหมาย ซึ่งความยากง่ายในการลดน้ำหนักแต่ะละคนไม่เท่ากัน เป็นเพราะอะไรรู้มั้ยคะ สิ่งแวดล้อมและสารพิษรอบตัวเรารอบตัวเรานี่ล่ะค่ะ

ปัจจุบันนี้เราอาศัยอยู่ใน Toxin Environment ต้องสัมผัสกับสารพิษไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายฉบับ พบว่า สารพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เรารับมา ไม่ว่าจะเป็นจากการรับประทานอาหาร จากอากาศ จากสารปนเปื้อนในภาชนะ และจากสิ่งแวดล้อม นั้นมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อร่างกายเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รบกวนกระบวนการธรรมชาติของการควบคุมน้ำหนักในร่างกายเรา สารเคมีเหล่านี้พบได้ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การใช้ภาชนะพลาสติก การปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง โลหะหนัก มลภาวะจากอากาศ เป็นต้น ซึ่งสารพิษเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะละลายได้ดีในไขมัน (Fat – Soluble) และถูกเก็บสะสมไว้อยู่ในเซลล์ไขมันของเรานั่นเองค่ะ

ถ้าคุณเป็นคนนึงที่ลดน้ำหนักอย่างตั้งใจ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก หรือแทบไม่ลดลงเลย อาจเป็นเพราะปัจจัยเรื่องสารพิษในร่างกายค่ะ เพราะสารเคมี สารพิษที่ปนเปื้อนในร่างกายเรา ส่งผลให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย (Inflammation) สร้างสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อการเผาผลาญในร่างกาย โดยไปรบกวนกระบวนการของ ฮอร์โมน (Endocrine Disruptors) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการสร้างและเผาผลาญไขมัน ทำให้เกิดการสะสมไขมันทั้งจำนวนและขนาดที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งตำแหน่งของไขมันที่เกาะในอวัยวะต่างๆด้วยค่ะ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน

โดยทั่วไปร่างกายเรามีกระบวนการขับสารพิษออกจากร่างกายอย่างเหมาะสม แต่เพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ทำให้ เรารับสารพิษมากขึ้น ร่างกายเกิดความเสื่อมเร็ว ความสามารถในกระบวนการขับสารพิษ (Detoxicification) ของร่างกายลดลง ทำให้ร่างกายสะสมสารพิษมากขึ้น เพิ่มกระบวนการสร้างสารอักเสบ ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะกระบวนการการเผาผลาญ

References

  • Holtcamp W. Obesogens: Environmental link to obesity? Environ Health Perspect. 2012 Feb;120(2):a62-a68.
  • Baillie-Hamilton PF. Chemical toxins: a hypothesis to explain the global obesity epidemic. J Altern Complement Med. 2002 Apr;8(2):185-192.

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็ง อย่างที่เราทราบกันดีว่าเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่เป็นโรคที่ทำให้เกิดอัตราการสูญเสียมากที่สุด และในปัจจุบันเราสามารถ ตรวจคัดกรองมะเร็ง

อ้วนขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลงเองโดยไม่ตั้งใจ รูปร่างเปลี่ยนไปจนคนต้องเข้ามาทัก! อาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับบางคน เพราะนั่นอาจหมายถึงความผิดปกติของต่อม

ชี้เทรนด์ตลาดโลกพบตัวเลขผู้มีปัญหาภาวะ มีบุตรยาก และ วางแผนมีบุตรเพิ่มต่อเนื่อง “W9

thThai